โครงการกระดาษชุมชน บ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำปาง, ThailandThailand
Year Founded:
Project Stage:
2556
Organization type:
ธุรกิจ
กำลังริเริ่มโครงการ
Example: Walk us through a specific example(s) of how this solution makes a difference; include its primary activities.
โครงการกระดาษชุมชน เป็นไอเดียง่ายๆ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของความยากจนได้อย่างชัดเจน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชนบ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ทั้งๆ ที่เป็นชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไปในป่าเขา มีพื้นที่ทำนาอยู่ไม่มาก ชาวบ้านทำนาได้เพียงปีละครั้ง สำหรับไว้ใช้กินเองตลอดปี เวลาที่เหลือก็จะรับจ้างได้เล็กๆ น้อยๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีฐานะยากจน และมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก
ในการดำเนินโครงการกระดาษชุมชน ซึ่งเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของชุมชนที่มีเป้าหมายในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน ทำให้เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างมาก การดำเนินโครงการจะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และด้วยการออกแบบบกระบวนการผลิตกระดาษฟางข้าวที่ปราศจากการใช้สารเคมีที่สามารถทำได้ในครัวเรือน ทำให้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่ำ โดยสามารถจัดตั้งโรงงานกระดาษชุมชนได้ในทันที และถึงแม้ว่าโรงงานกระดาษชุมชนจะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีกำลังการผลิตต่อวันเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะสามารถผลิตกระดาษจากฟางข้าวได้เป็นจำนวนมากแล้ว ยังเป็นการผลิตที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
กระดาษฟางข้าวปลอดสาร เป็นเพียงสินค้าขั้นต้น ซึ่งหากขายสินค้าในรูปของกระดาษ รายได้จากการขายกระดาษที่ได้รับจะไม่มากนัก ทำให้ต้องทำการผลิตกระดาษเป็นจำนวนที่มากขึ้น เพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอกับความต้องการ แต่ถ้าหากสามารถทำการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกระดาษได้ ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น โครงการกระดาษชุมชน ซึ่งนอกจากจะทำการผลิตกระดาษแล้ว ยังทำการแปรรูปกระดาษและแนวทางในการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกระดาษได้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจิตกรรมลงบนกระดาษ ซึ่งโครงการกระดาษชุมชน ยังมีนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจิตกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เด็กๆ และผู้ใหญ่ก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โครงการกระดาษชุมชนเป็นโครงการของคนได้ทั้งชุมชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งหญิงและชาย
นอกจากนั้นแล้ว โครงการกระดาษชุมชน ยังสร้างงานสร้างอาชีพเกี่ยวกับการแปรรูปกระดาษ
ด้วยการนำไปประกอบกับเศษไม้ที่เหลือทิ้งจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ โดยออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟรมภาพศิลปะ กล่องภาพศิลปะ พวงกุญแจภาพศิลปะ ฯลฯ ซึ่งจากการสร้างงานสร้างอาชีพของโครงการกระดาษชุมชน จนเกิดเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ออกสู่ตลาดที่จะนำมาซึ่งรายได้ที่มากเพียงพอให้กับคนในชุมชน เพื่อที่จะได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและสามารถลดภาระหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากปัญหาของความยากจน
Impact: What is the impact of the work to date? Also describe the projected future impact for the coming years.
โครงการกระดาษชุมชน บ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จะสามารถสร้างผลกระทบได้อย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นต้นแบบของโครงการในลักษณะของกิจการเพื่อสังคมที่ทุกๆ ชุมชนต้องการ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนของตนเอง ด้วยเป็นไอเดียง่ายๆ ที่น่าสนใจ เพราะสามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ตนเองมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว ใบยางพารา ใบอ้อย เปลือกทุเรียน เปลือกสับปะรด ฯลฯ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษที่ปราศจากการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นนวัตกรรม (Innovation) ที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่กว่าวิธีเดิมๆ ที่มีอยู่ และเชื่อได้ว่าหากลงมือทำได้สำเร็จจะมีศักยภาพที่จะขยายผลและสามารถแก้ไขปัญหาของความยากจนได้ในวงกว้าง และจะสร้างผลกระทบทางสังคม (Social Impact) ได้ในหลายระดับ ทั้งผลกระทบต่อตัวคนทำและต่อชุมชน ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และจะส่งผลให้มีการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของความยากจน
Financial Sustainability Plan: What is this solution’s plan to ensure financial sustainability?
แผนในการสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการกระดาษชุมชน ประกอบด้วย
1. การใช้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการที่ต่ำมาก ด้วยการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างเต็มที่และอย่างยั่งยืน ถึงแม้ว่างบประมาณจะมีอยู่อย่างจำกัด
2. การที่สามารถดำเนินโครงการในการผลิตเป็นสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินงานด้านการตลาดได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดรายได้จากการขายสินค้า และเป็นกำไรกลับมาสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการกระดาษชุมชน
3. โครงการกระดาษชุมชนดำเนินงานในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเปิดรับทุกคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการและสามารถได้รับประโยชน์ต่างๆ จากโครงการ เป็นแผนสำคัญที่จะสร้างความร่วมมือและความยั่งยืนให้กับโครงการ
4. ความสามารถในการผลิตและขายสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดได้ในราคาที่สูง แต่สามารถบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตให้อยู่ได้ในระดับที่ต่ำ ทำให้มีกำไรมาก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการกระดาษชุมชนสามารถที่จะดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน
5. ความสามารถในการค้นคว้า วิจัยและพัฒนา จะทำให้โครงการกระดาษชุมชนมีศักยภาพในการดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
Marketplace: Who else is addressing the problem outlined here? How does the proposed project differ from these approaches?
ในการแก้ไขปัญหาของความยากจนนั้น มีหน่วยงานของทางราชการเป็นจำนวนมากที่เข้ามาดำเนินการในรูปของการจัดทำโครงการฝึกอาชีพต่างๆ ซึ่งกล่าวได้ว่าทุกหน่วยงานให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของความยากจนเป็นอย่างมาก แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่า กระทรวงศึกษา กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนยี และอีกหลายๆ หน่วยงาน ทุกหน่วยงานต่างมีบทบาทในการจัดทำโครงการฝึกอาชีพต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้น โดยผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ หากจะนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบเป็นอาชีพ ก็จะต้องเสี่ยงด้วยตนเองในทุกๆ เรื่อง ทั้งเรื่องเงินลงทุน การผลิต การตลาด การขาย ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า พอเริ่มต้นก็เป็นหนี้พร้อมกับความเสี่ยงต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งคนเป็นจำนวนมากที่เริ่มต้นไม่ได้เพราะประเด็นของเงินลงทุน หลายๆ หน่วยงานก็พยายามเข้ามาช่วยให้สามารถหาเงินทุนได้ง่ายขึ้น เพื่อผลักดันให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจ แต่การที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบผลสำเร็จ เพราะเงินลงทุนที่เกิดจากการที่ต้องกู้ยืมมา แทนที่จะสร้างผลกำไร อาจกลายเป็นหนี้สินที่ดูดกินทรัพย์สินที่มีอยู่เดิมไปหมดก็อาจเป็นได้
Founding Story
จุดเริ่มของโครงการกระดาษชุมชน สืบเนื่องมาจากการที่กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรม มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม ได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานมหกรรมนวัตกรรมสู่ภูมิภาค “รวมพลังนักคิด ประดิษฐ์เพื่อชุมชน” ระหว่าง วันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2556
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และได้มีแกนนำชุมชนซึ่งเป็นครูจากโรงเรียนบ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้เห็นผลงานวิจัยในการทำกระดาษปลอดสารจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ของกลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม และได้ขอให้กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรม เข้าไปช่วยสอนให้ชาวบ้านทำกระดาษปลอดสารจากฟางข้าว …….
ดังนั้น โครงการกระดาษชุมชน จึงเป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการของชุมชน ซึ่งทำให้กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากชุมชนบ้านสามขาเป็นอย่างมาก
กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมได้รับเชิญให้ไปพักที่บ้านสามขาถึงห้าวันและได้มีโอกาสประชุมหารือกับแกนนำของชุมชน ได้สำรวจพื้นที่ทั่วทั้งหมู่บ้าน ซึ่งทำให้ได้รับข้อมูลที่สำคัญต่างๆ เป็นจำนวนมาก และเห็นถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมตัดสินใจที่จะเข้าไปดำเนินโครงการ คือ ความุ่งมั่นตั้งใจเป็นอย่างมากของแกนนำชุมชน และในเดือนกรกฏาคม 2556 กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมยังได้รับเชิญให้ไปที่บ้านสามขาอีกครั้ง เพื่อสำรวจพื้นที่โดยรอบของจังหวัด เพื่อวางแผนการตลาดที่จะนำสินค้าไปจัดจำหน่าย รวมทั้งประชุมหารือกับแกนนำชุมชนที่จะดึงตลาดที่มีศักยภาพ มีอำนาจซื้อสูง และซื้อเป็นจำนวนมาก ให้เข้ามาในพื้นที่ชุมชนบ้านสามขา นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีชาวบ้านสามขาเป็นจำนวนมาก แจ้งความประสงค์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย
ชื่อ
ศิขรินทร์
นามสกุล
ปั้นเก่า
URL ของ Twitter
URL ของ Facebook
ชื่อองค์กร
ประเทศที่ตั้งขององค์กร
ประเทศที่องค์กรนี้สร้างผลกระทบทางสังคม
, จังหวัดลำปาง